ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต
องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา มีเนื้อที่ 53.376 ตารางกิโลเมตร หรือ 33,360 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอบางพลี ประมาณ 6 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้:
- ทิศเหนือ ติดต่อ เทศบาลตำบลบางพลี และ อบต.บางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
- ทิศใต้ ติดต่อ เทศบาลตำบลบางปู อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
- ทิศตะวันออก ติดต่อ อบต.บางเสาธง กิ่ง อ.บางเสาธง และ อบต.บางเพรียง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
- ทิศตะวันตก ติดต่อ อบต.บางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และ อบต.แพรกษาใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
สภาพพื้นดินเป็นดินเหนียวอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก เลี้ยงปลาสลิดและเลี้ยงกุ้ง โดยแบ่งเป็น 2 เขต ตามลักษณะ อาชีพและชุมชนคือ:
- เขตตอนเหนือของตำบล เป็นเขตชุมชนเมือง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายและรับจ้างทั่วไป มีโรงงาน อุตสาหกรรม บ้านจัดสรรและอาคารพาณิชย์
- เขตตอนใต้ของตำบล เป็นเขตเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เลี้ยงปลาสลิด เลี้ยงกุ้ง และทำสวนผลไม้
จำนวนหมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา มีทั้งหมด 15 หมู่บ้าน โดยแบ่งเป็น
- จำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในเขต อบต. เต็มทั้งหมู่บ้าน มี 14 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 12, 13, 14 และ 15
- จำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในเขตเทศบาลบางส่วน มี 1 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 11
จำนวนประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา มีประชากรทั้งสิ้น 30,751 คน แยกเป็นชายจำนวน 14,767 คน และหญิงจำนวน 15,984 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 575 คน/ตร.กม. มีรายละเอียดจำนวนประชากรดังต่อไปนี้
ตำบล |
หมู่ที่ | จำนวน (ครัวเรือน) |
จำนวนประชากร (คน) |
จำนวนผู้มี |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
||||
บางปลา | 1 |
104 |
204 | 209 | 413 |
312 |
2 |
472 |
854 | 928 | 1,782 |
1,129 |
|
3 |
2,722 |
2,396 | 2,673 | 5,069 |
3,010 |
|
4 |
128 |
258 | 287 | 545 |
397 |
|
5 |
144 |
320 | 328 | 648 |
491 |
|
6 |
176 |
360 | 399 | 759 |
530 |
|
7 |
355 |
621 | 588 | 1,209 |
890 |
|
8 |
189 |
259 | 291 | 550 |
387 |
|
9 |
1,846 |
2,221 | 2,375 | 4,596 |
2,987 |
|
10 |
2,825 |
2,718 | 2,925 | 5,643 |
3,475 |
|
11 |
3,406 |
3,055 | 3,430 | 6,485 |
3,917 |
|
12 |
560 |
560 | 591 | 1,140 |
780 |
|
13 |
171 |
350 | 352 | 702 |
485 |
|
14 |
197 |
304 | 317 | 621 |
423 |
|
15 |
149 |
287 | 291 | 578 |
401 |
|
รวม |
13,344 |
14,767 | 15,984 | 30,751 |
19,614 |
**ข้อมูล ณ เดือนเมษายน พ.ศ. 2552
แผนที่ตำบลบางปลา
ลักษณะทางเศรษฐกิจ
อาชีพ
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการ รับจ้าง ค้าขาย ประกอบธุรกิจโรงงานและสถานประกอบการส่วนใหญ่อยู่ในซอยธนสิทธิ์ ซอยไกรศักดิ์ดาวัฒน์ ซอยบางพลีซิตี้ และบริเวณริมถนนเทพารักษ์ทั้งสองฝั่ง ส่วนอาชีพทางด้านการเกษตร เช่น เลี้ยงปลาอยู่ทางด้านทิศใต้ของตำบลซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรม
กลุ่มอาชีพ
- กลุ่มสตรีพัฒนา นางวันเพ็ญ อินทร์พรหม ประธานกลุ่ม ผลิตสินค้า กล้วยคลุกเนย/ขนมทองพับ/ขนมกง
- กลุ่มสตรีคลองสี่ นางสุนี สุขมี ประธานกลุ่ม ผลิตสินค้า เมี่ยงปลาสลิด / ข้าวเกรียบปลาสลิด / ปลาสลิดเค็ม
- กลุ่มแม่บ้านคลองกู้พารา นางจำเนียร ไวย์ชาตา ประธานกลุ่ม อาชีพ นวดแผนไทย
- กลุ่มพัฒนาอาชีพคลองกู้พารา นางทรัพย์มณี จั่นมุ้ย ประธานกลุ่ม ผลิตสินค้า มะม่วงน้ำปลาหวาน / น้ำดื่มสมุนไพร
- กลุ่มสตรีมุสลิม ม.10 นางเหรี่ยม หวังสระ ประธานกลุ่ม ผลิตสินค้า ข้าวหมกไก่ / สร้อยคริสตัล
- กลุ่มแม่บ้านเก้าแสน นางพรพิศ ศรีสมวงษ์ ประธานกลุ่ม ผลิตสินค้า มะขามคลุก / แหนมเห็ด / ปลาร้าสับ / ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็ด
- กลุ่มแม่บ้านบางกะสี นางอรุโณทัย ประเสริฐอาภา ประธานกลุ่ม ผลิตสินค้า มะตะบะ / ข้าวเหนียวมะม่วง
- กลุ่มสตรี วากัฟ ม.10 นางลอมะ หะซัน ประธานกลุ่ม ผลิตสินค้า ขนมเบื้ยงญวน / ขนมจีบ
หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
- ปั๊มน้ำมันและก๊าซ จำนวน 5 แห่ง
- สถานประกอบการ จำนวน 632 แห่ง
- อพาร์ทเม็น และห้องเช่า จำนวน 150 แห่ง
- ร้านค้า จำนวน 133 แห่ง
- ตลาดสด จำนวน 1 แห่ง
เบี้ยยังชีพ
- ผู้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 833 คน (อบต.431 คน/อุดหนุน402 คน)
- ผู้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล 1153 คน
- ผู้รับเบี้ยยังชีพผู้พิการ 224 คน (อบต.179 คน/อุดหนุน 45 คน)
- ผู้รับเบี้ยยังชีพผู้ป่วยโรคเอดส์
ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคมทางบก
- ถนนเทพารักษ์ กิโลเมตรที่ 14 – 19.6
- ถนนเลียบคลองบางปลา ระยะทาง 6.30 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างถนนเทพารักษ์กับถนนสุขุมวิท
- ถนนสุนทรวิภาคไปถนนตำหรุ- แพรกษา
- ถนนบางโฉลงไปออกถนนบางนาตราด
- ถนนซอยต่าง ๆ เช่น ถนนซอยสันตินคร
การโทรคมนาคม
- สถานีไมโครเวฟบางพลี จำนวน 1 แห่ง
- มีโทรศัพท์สาธารณะใช้และโทรศัพท์ส่วนตัวใช้เป็นบางหมู่บ้าน ไม่ต้องใช้รหัสทางไกล
การไฟฟ้า
- มีไฟฟ้าใช้ทั้ง 15 หมู่บ้าน และทุกหลังคาเรือน
ลักษณะทางสังคม
การศึกษา
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
สาธารณสุข
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน